🤖บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10🤖
🥝วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 🥝
🍉ความรู้ที่ได้รับ🍉
การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาให้จับกลุ่มเพื่อคิดวิธีทำทางให้ลูกดินน้ำมันกลิ้งให้นานที่สุด โดยทางที่ใช้ที่ให้นักศึกษาทำ คือ หลอด เทปใส ให้นักศึกษาช่วยกันคิด ก่อนจะทำให้นักศึกษาวางแผนในแผ่นชาทก่อนจะลงมือทำจริง
หลังจากที่วางแผนกันแล้ว นักศึกษาแต่ละกลุ่มก็พากันลงมือทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ โดยการทำมีทั้งผิดทั้งถูก แต่ในที่สุดแต่ละกลุ่มก็ทำได้สำเร็จ แต่นำมาวางน่าห้อง เพื่อมาทดลองการกลิ้งของดินน้ำมัน ว่าสามารถกลิ้งบนรางที่นักศึกษาทำได้ไหม และกลิ้งได้นานสุดกี่วินาที
หลังจากนำมาวางหน้าห้องอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มผลัดกันจับเวลา โดยกลุ่มที่ 1 จับให้กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 2 จับให้กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 3 จับให้กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 4 จับให้กลุ่มที่ 5 และสุดท้าย กลุ่มที่ 5 จับให้กลุ่มที่ 1 โดยการทดลองที่ ให้โอกาสกลุ่มละ 3 ครั้ง และใช้เวลาครั้งที่นานที่สุดเป็นตัวตัดสิน
กลุ่มของดิฉันได้เป็นกลุ่มที่ 3 และเวลาที่นานที่สุดที่กลุ่มดิฉันได้ทำ เป็นเวลา 3.94 วินาที และกลุ่มที่นานที่สุดในการทดลองครั้งนี้ คือ ของกลุ่มที่ 5 ใช้เวลาในการทดลอง 7 วินาที และเป็นอันจบการทดลอง หลังจากนั้นอาจารย์สรุปการทดลองให้นักศึกษาฟัง ว่าเป็นการทดลองแบบ สเต็ม
สะเต็มศึกษา👶
สะเต็มศึกษา(Science Technology Engineering and Mathematics Education:STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต
🍑รูปภาพและวิดีโอบันทึกกิจกรรม🍑
🍭บรรยากาศการทำกิจกรรม🍭 : กิจกรรมมีความสนุกสนาน นักศึกษาได้ลงมือทำจริงและช่วยกันคิดเกี่ยวกับงาน มีการนำเสนองานอาจารย์มีการแนะนำในกิจกรรมต่างๆอย่างละเอียด
No comments:
Post a Comment